จากการที่ Apple เปิดตัว iPad Pro 12.9 นิ้ว รุ่นใหม่ ที่ให้หน้าจอแบบใหม่ที่เรียกว่า “Liquid Retina XDR” โดยเลือกใช้พาเนลแบบ mini LED ที่สามารถแสดงพื้นที่สีดำบนหน้าจอได้ดำสนิท ใกล้เคียงกับ OLED เลยทีเดียว
หน้าจอ IPS ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ คือหน้าจอ LCD ที่ต้องพึ่งพาแสงไฟแบ็คไลท์ในการส่องแสงสว่างผ่านฟิลเตอร์ขึ้นมาเพื่อให้เรามองเห็นพิกเซล จนเกิดเป็นรูปแสงสีที่เราเห็น แต่ข้อเสียคือ สีดำที่แสงบนจอ IPS นั้น คือสีดำที่ผ่านการส่องแสงไฟสีขาวมาอีกทอด ทำให้หน้าจอไม่สามารถแสดงสีดำได้สนิทได้ ทั้งนี้จอ TV ในหลายรุ่นที่ใช้จอ IPS นั้น ก็อาจจะมีการเลือกใช้ฟหลอดไฟแบ็คไลท์ที่คุณภาพสูงขึ้น มีการแบ่งโซนของหลอดไฟกระจายออกไป เพื่อให้เกิดคอนทราสของภาพในบางส่วน ที่เราเรียกว่า local dimming
/article-new/2021/05/ipad-pro-xdr-display-blooming.jpg?lossy)
แต่ mini LED ที่ Apple เลือกใช้บน iPad Pro 12.9 นิ้ว นั้น ที่จริงมันก็คือพาเนล IPS ที่ใช้หลอดไฟแบ็คไลท์ในขนาดเล็กลง จำนวน 10,000 ดวง วางกระจายบนพื้นที่หน้าจอ แบ่งออกเป็น 2,500 โซน เพื่อให้สามารถทำการ local dimming หรือการหลี่ไฟลงเฉพาะจุดของภาพ เพื่อให้เกิดคอนทราสได้มากที่สุด และเพราะด้วยความที่หลอดไฟมันเล็กลงนี่แหละ ทำให้การทำ local dimming มีประสิทธิภาพกว่าที่ใช้บนจอทีวีทั่วไป ลำพังตัวพิกเซลของจอแบบ mini LED นั้น ไม่สามารถเปล่งแสงเองได้ และยังจำเป็นจะต้องใช้แสงไฟจากแบ็คไลท์อยู่ การเกิด Blooming Effect นั้น จึงเกิดจากการที่พื้นที่บางส่วนของหน้าจอหลี่ไฟลงจนดำสนิทแล้ว แต่พื้นที่มีสีสันขึ้นมานั้น กลับยังต้องใช้แสงไฟของแบ็คไลท์ในการส่องสว่างอยู่ ประกอบกับจำนวนของหลอดไฟไม่ได้ถี่มาก ทำให้เกิดแสงสว่างขึ้นรอบๆ ที่วัตถุบนภาพที่มีพื้นสีดำเป็นส่วนประกอบ
แต่สิ่งที่ผู้คนเข้าใจผิดนั่นก็คือ คิดว่าเทคโนโลยี mini LED นั้น ดีกว่าหรือเทียบเท่า OLED ที่หน้าจอมันสามารถทำให้แสดงสีดำได้ดำสนิทเหมือนกัน ในแง่มุมนึงคือ มันสามารถทำได้ แต่มีข้อจำกัดอยู่ เพราะการที่ OLED นั้นสามารถปิดแสงที่ตัวเม็ดพิกเซลของมันเองได้ หมายถึงจำนวนกว่าล้านพิกเซลของ OLED ที่สามารถเปล่งแสงได้เองโดยไม่ต้องพึ่งพาหลอดไฟแบลคไลท์ในการช่วยส่องสว่างขึ้นมาเลย หรือถ้าจะให้อธิบายอย่างง่ายก็คือ “หลอดไฟ LED นั้น มีจำนวนใหญ่กว่าเม็ดพิกเซล” นั่นเอง ซึ่งถ้าหากการที่จะทำให้ mini LED ทำได้แบบนั้น ผู้ผลิตก็จะต้องยัดหลอดไฟขนาดจิ๋วกว่าล้านดวง หรือแทบจะให้เทียบเท่ากับจำนวนของพิกเซลบนหน้าจอเลยทีเดียว เพื่อลดเอฟเฟคต์นี้ ซึ่งแน่นอนว่าอาจจะยังเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบันแน่ๆ
แต่ข้อดีของ mini LED ที่ยังคงเหนือกว่า OLED นั้น ก็คือความสว่างที่สูงกว่า อายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ลดปัญหาหน้าจอเกิดการ burn-in หรือเม็ดพิกเซลเสื่อมสภาพ และต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่านั่นเอง
ทั้งนี้ในรูปตัวอย่างที่ macrumors.com นำมาประกอบบทความนั้น เราเชื่อว่าเป็นเอฟเฟคต์ที่เกิดจากกล้องด้วยส่วนหนึ่ง เพราะถ้าหากเราวัดด้วยสายตาจริง มันจะไม่สว่างขึ้นรอบวัตถุเยอะขนาดนี้ครับ
Laptop & Display Calibration / Writer / Owner และทำทุกสิ่งอย่างในนาม RIPS COMP