Software Calibration และ Hardware Calibration มีความแตกต่างกันอย่างไร

กระบวนการทำ Calibrate หน้าจอจะมีอยู่สองแบบด้วยกันคือ Software Calibration และ Hardware Calibration ขึ้นอยู่กับว่าหน้าจอตัวนั้น ๆ รองรับแบบใด แต่ส่วนใหญ่แล้วกว่า 90% ของหน้าจอในตลาดรองรับเพียง Software Calibrationเท่านั้น แล้ว Software Calibration และ Hardware Calibration นั้นแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบให้ครับ

Software Calibration คือกระบวนการปรับจูนสีหน้าจอโดยใช้เครื่องมือวัดค่าสีและความสว่างของหน้าจอ เพื่อทำการวัด เปรียบเทียบ และปรับจูนใหม่ให้หน้าจอแสดงสีได้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยยังมีในเรื่องของปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากนัก ไม่ว่าจะเป็นข้อขำกัดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือวิธีการเซ็ตติ้งระหว่างการทำ calibrate และข้อเสียของการ Software Calibration นั้นหลัก ๆ จะมีอยู่สองข้อด้วยกันคือ 1. การสูญเสียคุณภาพการแสดงสีสันและความสว่างทุกครั้งที่มีการปรับจูนสีใหม่ 2. ICC Profile ที่ใช้ในการควบคุมสีของหน้าจอนั้นจะต้องถูกโหลดเข้ากับการ์ดจอของเครื่องนั้น ๆ ทุกครั้ง หน้าจอจำเป็นต้องพึ่งพาไฟล์ ICC Profile ในการแสดงผลเท่านั้น หากนำหน้าจอไปใช้ต่อกับเครื่องอื่น ก็จะไม่ได้แสดงผลตามอย่างที่เราปรับจูนมาไว้ แม้กระทั่งการที่เราปรับสีสันเองผ่านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็เรียกว่าเป็นวิธีการ Software Calibration ทั้งนั้น (เพียงแต่ในการ calibrate ที่ถูกต้องจริง ๆ จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น)

Software Calibration และ Hardware Calibration แตกต่างกันอย่างไร ขอสรุปสั้น ๆ ในคอมเม้นนี้

Software Calibration คือกระบวนการปรับจูนสีหน้าจอโดยใช้เครื่องมือวัดค่าสีและความสว่างของหน้าจอ เพื่อทำการวัด เปรียบเทียบ และปรับจูนใหม่ให้หน้าจอแสดงสีได้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยยังมีในเรื่องของปัจจัยอีกหลายอย่างที่อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือยังไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากนัก ไม่ว่าจะเป็นข้อขำกัดของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ หรือวิธีการเซ็ตติ้งระหว่างการทำ calibrate และข้อเสียของการ Software Calibration นั้นหลัก ๆ จะมีอยู่สองข้อด้วยกันคือ 1. การสูญเสียคุณภาพการแสดงสีสันและความสว่างทุกครั้งที่มีการปรับจูนสีใหม่ 2. ICC Profile ที่ใช้ในการควบคุมสีของหน้าจอนั้นจะต้องถูกโหลดเข้ากับการ์ดจอของเครื่องนั้น ๆ ทุกครั้ง หน้าจอจำเป็นต้องพึ่งพาไฟล์ ICC Profile ในการแสดงผลเท่านั้น หากนำหน้าจอไปใช้ต่อกับเครื่องอื่น ก็จะไม่ได้แสดงผลตามอย่างที่เราปรับจูนมาไว้ แม้กระทั่งการที่เราปรับสีสันเองผ่านซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ก็เรียกว่าเป็นวิธีการ Software Calibration ทั้งนั้น (เพียงแต่ในการ calibrate ที่ถูกต้องจริง ๆ จำเป็นจะต้องใช้เครื่องมือเฉพาะทางอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น)

Hardware Calibration คือกระบวนการปรับจูนสีหน้าจอโดยใช้เครื่องมือวัดค่าสีและความสว่างของหน้าจอ เพื่อทำการวัด เปรียบเทียบ และปรับจูนใหม่ให้หน้าจอแสดงสีได้ถูกต้อง โดยทุกครั้งที่มีการทำ calibrate นั้น มันจะไม่ได้เป็นการลดหรือทำให้สูญเสียคุณภาพการแสดงสีสันและความสว่างแต่อย่างใด เช่น หากเราต้องการให้หน้าจอแสดงพิกัดสีขาวที่ 6500K ก็เป็นการขยับหรือปรับโทนสีขาวที่บนตัวหน้าจอของมันโดยตรง ได้ไปยุ่งเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ส่วนอื่นแต่อย่างใด เรียกว่าเหมือนเราควบคุมการแสดงผลของหน้าจอได้โดยตรง เช่น หากเราต้องการปรับความสว่างให้หน้าจอแสดงที่ 100 cd/m2 เมื่อเราลองใช้เซ็นเซอร์วัดความเข้มข้นของแสงที่ออกมาจากหน้าจอจริง ๆ เราก็จะได้ความสว่างที่ 100 cd/m2 (บวกลบเล็กน้อย) นอกจากนั้น การทำ calibrate ก็จะเป็นการฝัง ICC Profile ที่ใช้ควบคุมการแสดงสีลงไว้บนหน้าจอโดยตรง ไม่ว่าคุณจะเอาหน้าจอตัวนี้ไปต่อกับอุปกรณ์ตัวไหน ก็จะยังคงแสดงสีสันได้ตามเดิมทุกประการ แต่การทำ Hardware Calibration นั้นจะขึ้นอยู่กับหน้าจอแต่ละรุ่นที่รองรับ และซอฟต์แวร์ที่เตรียมมาโดยผู้ผลิตเท่านั้น ไม่สามารถใช้ third-party ได้

แม้กระทั่งจอแพง ๆ อย่าง EIZO ก็ยังรองรับการทำ calibrate อย่างเต็มรูปแบบ และค่อนข้างสนับสนุนให้ทำด้วย ส่วนใครที่บอกว่า จอดีอยู่แล้วไม่จำเป็นต้องทำ อันนั้นน่าจะรู้ไม่จริงครับ ลองอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.eizoglobal.com/…/hardware-vs-software…/